Gen AI ยกระดับประสิทธิภาพแรงงานในเอเชียได้จริงหรือไม่
รายงาน Global Talent Trends 2024-2025 | เอเชีย
รายงาน Global Talent Trends (GTT) 2024 ของเราเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงไปของสถานที่ทำงานในเอเชียอย่างรวดเร็ว ที่ขับเคลื่อนโดยการใช้ Generative Artificial Intelligence (Gen AI) ซึ่งกำลังพลิกโฉมรูปแบบการทำงานและประสบการณ์ในการทำงานโดยสิ้นเชิง
แต่คำถามสำคัญคือ Gen AI ทำได้ตามที่ถูกคาดหวังไว้หรือไม่ ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานหรือไม่
Pulse Check: สถานการณ์ล่าสุดในเอเชีย ณ ปี 2025
ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญๆ จากการตอบแบบสำรวจของบริษัทต่างๆ ในเอเชีย
ผลสำรวจ Pulse Check เอเชีย ปี 2025 ของเราเผยว่าแม้ว่า 61% ของผู้ตอบแบบสอบถาม จะเห็นว่า AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่กลับมีเพียงหนึ่งในสามขององค์กรเท่านั้นที่นำ Gen AI มาใช้จริงองค์กร
องค์กรที่ใช้งาน AI อยู่แล้วพบว่าจำเป็นต้อง reskill บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดย 34% มองเห็นความจำเป็นของทักษะใหม่ ช่องว่างนี้สะท้อนถึงความไม่ชัดเจนขององค์กรเกี่ยวกับทักษะเฉพาะที่จำเป็นในการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์และเครื่องจักร เพื่อยกระดับประสิทธิภาพแรงงานในอนาคต
จากข้อมูลเชิงลึกนี้ เราขอแนะนำ 2 แนวทางสำคัญที่องค์กรสามารถใช้เพื่อปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของแรงงาน ดังนี้
- ออกแบบการทำงานเพื่อปลดปล่อยศักยภาพของ AI
- พัฒนาทักษะและศักยภาพของแรงงานอย่างเต็มที่
พบกับวิธีสร้างแรงงานที่มีความคล่องตัวและสามารถแข่งขันได้ด้วยแนวทางเหล่านี้
“มีเพียง 30% ขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบงานใหม่เพื่อผสาน AI และระบบอัตโนมัติในปี 2025” – จากแบบสำรวจ GTT 2025 Asia pulse
จะวัดผลความสำเร็จของการนำ AI เข้ามาใช้อย่างไร
ขั้นตอนต่อไปของคุณคืออะไร
-
รับสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล HR เทรนด์ตลาด และองค์ความรู้จาก Mercer เป็นเวลา 1 ปี
-
รับบัตรเข้าร่วมงานประชุม Asia HR 2025 ฟรี และเรียนรู้เคล็ดลับการออกแบบงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพองค์กร
ทรัพยากรสำคัญสำหรับการออกแบบงานยุคใหม่
เมื่อเอเชียกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น และการเข้าสู่ตลาดแรงงานของคนรุ่นใหม่ ทำให้ความต้องการด้านทักษะใหม่ๆ ทั้งในระดับพนักงานและผู้บริหารกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน
การให้ความสำคัญกับบุคลากรในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด (ROI) คือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่สูง เพื่อให้ได้ ROI สูงสุดและรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร บริษัทจำเป็นต้องลงทุนในการพัฒนาทักษะ และวางแผนจัดสรรบุคลากรให้ตรงกับตำแหน่งสำคัญ พร้อมกับปรับกลยุทธ์ค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพและผลงานของพนักงาน
องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยทักษะ (skills-powered organization) จะสามารถปลดล็อกศักยภาพของทีมงานได้อย่างเต็มที่ พร้อมรับมือทั้งโอกาสและวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้นหรืออยู่ในช่วงเร่งเครื่อง ก็มีแนวทางที่ช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ขั้นตอนต่อไปของคุณคืออะไร
-
รู้ว่าควรจ่ายค่าตอบแทนแค่ไหนสำหรับทักษะสำคัญที่ขับเคลื่อนผลลัพธ์ขององค์กร
-
รับข้อมูลเชิงลึกที่คุณต้องการ เพื่อออกแบบและดำเนินโปรแกรมพัฒนาทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ
ทรัพยากรที่ช่วยให้คุณเริ่มต้นได้ทันที
สรุปประเด็นสำคัญ
หากปี 2024 คือปีแห่งการทดลอง ปี 2025 จะต้องเป็นปีแห่งการเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ เมื่อองค์กรเริ่มนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้นำควรเปลี่ยนมุมมองจากการลดต้นทุน มาเน้นการสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ในโลกธุรกิจที่ความเสี่ยงด้านบุคลากรหมายถึงความเสี่ยงขององค์กร การเร่งความก้าวหน้าไปพร้อมกับการมอบประสบการณ์ทำงานที่ดีให้กับพนักงานคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จ
ความสำเร็จขององค์กรคุณขึ้นอยู่กับการสร้างความร่วมมือที่สมดุลระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี โดยมีบุคลากรเป็นศูนย์กลาง เริ่มต้นจากการผสานการทำงานของ AI เข้ากับการออกแบบงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้น การปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดช่องว่างด้านทักษะ และปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของพนักงานในองค์กรแนวทางนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับความพึงพอใจในการทำงานผ่านการมีส่วนร่วมที่มีความหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้องค์กรก้าวนำคู่แข่ง ด้วยการส่งมอบบุคลากรที่มีศักยภาพไปยังโอกาสที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม