องค์กรมีวิธีสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงานและรักษาบุคลากรผู้มีความสามารถเอาไว้ขณะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างไร
23 กรกฎาคม 2567
ความไว้วางใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรลดลงกำลังทำให้องค์กรประสบปัญหาในการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ
ตามผลการสำรวจ Global Talent Trends ของ Mercer ความไว้วางใจของพนักงานในเอเชียต่อองค์กรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงเกือบ 20% ตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2024
และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสองอันดับแรกที่ทำให้ความไว้วางใจของพนักงานต่อองค์กรที่ลดลง หนึ่งในมุมมองว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมคือความไม่เท่าเทียมในการเสนอสวัสดิการด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากแพ็กเกจสวัสดิการหลายแพ็กเกจออกแบบมาโดยมอบประโยชน์สูงสุดให้กับตำแหน่งงานระดับสูงสุด ดังนั้นมีพนักงานเพียง 66% เท่านั้นที่ระบุว่านายจ้างของตนใส่ใจในสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตนอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีนายจ้างทั่วโลกถึง 88% ที่ถือมองว่าตนเององค์กรใส่ใจพนักงานเป็นอย่างดี
นายจ้างในเอเชียยังคงเผชิญกับความท้าทายในการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร โดยพนักงานสามในสิบคนวางแผนจะลาออกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานเปลี่ยนงานคือเพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี
พร้อมกันนั้น มีพนักงาน 46% เต็มใจไม่รับการขึ้นเงินเดือนเพื่อแลกกับสวัสดิการด้านความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สิ่งนี้เน้นย้ำว่าการสร้างความไว้วางใจไม่ได้เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เนื่องจากมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จด้านบุคคลากร
5 สิ่งที่นายจ้างควรทำเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงาน
-
#1 : ส่งเสริมความเสมอภาคโดยการปรับโครงสร้างพีระมิดองค์กรในทิศทางตรงข้าม
การปรับโครงสร้างพีระมิดองค์กรในทิศทางตรงข้ามเป็นวิธีที่มอบการดูแลสุขภาพอย่างเท่าเทียมในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในตำแหน่งงานที่ระดับต่ำกว่าซึ่งโดยทั่วไปนั้นพนักงานกลุ่มนี้จะต้องการการดูแลสุขภาพโดยรวมมากกว่า ด้วยการปรับโครงสร้างสวัสดิการใหม่นายจ้างสามารถปรับปรุงการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและลดการยื่นขอค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ราคาสูงเนื่องจากได้รับการรักษาล่าช้าหรือไม่ทันการณ์
องค์กรสามารถเริ่มต้นปรับโครงสร้างพีระมิดองค์กรในทิศทางตรงข้ามได้โดย:
- วิเคราะห์ความต้องการของพนักงานอย่างละเอียด
- จัดการกับความต้องการที่จำเป็นที่สุดก่อน เช่น ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ต้องจ่ายเอง
- ปรับปรุงโปรแกรมสวัสดิการเพื่อลบโปรแกรมที่ล้าสมัย ไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอตามความต้องการที่ระบุไว้
- สื่อสารถึงสวัสดิการใหม่ ๆ ที่มีให้พนักงานทราบอย่างทั่วถึงกัน
-
#2 : เสนอสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างครอบคลุม
การเป็นโรคมะเร็งในอายุที่น้อยลง - กรณีของโรคมะเร็งที่วินิจฉัยพบในวัยต่ำกว่า 50 ปีเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างน่าตกใจถึง 79% ในการปรับโครงสร้างสวัสดิการใหม่ Mercer Marsh Benefits (MMB) ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ บริษัทประกันภัยและนายจ้างเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเสนอการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่เหมาะสมเพื่อระบุสภาวะโรคในระยะเริ่มต้น เช่น:
- การคัดกรองสุขภาพเพื่อการตรวจเบื้องต้นของโรคต่างๆ ที่มีอัตราการเกิดสูง เช่น มะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีการยื่นขอค่าชดเชยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์สูงที่สุดในเอเชีย
- การทบทวนอายุขั้นต่ำในการคัดกรองสุขภาพเพื่อรับมือกับโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยลง
- การอนุญาตให้พนักงานลางานเพื่อการตรวจสุขภาพประจำปี
กรณีศึกษา: การรวมเอาการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเข้ากับโครงสร้างสวัสดิการ |
บริษัทซอฟต์แวร์การจัดการธุรกิจชั้นนำที่มีสำนักงานในจีนเชื่อว่าการสนับสนุนให้พนักงานมีสุขภาพดีเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวและมาเป็นพันธมิตรกับ MMB เพื่อ:
โครงการเหล่านี้มีอัตราการเข้าร่วมมากกว่า 80% โดยมีอัตราความพึงพอใจของพนักงานเฉลี่ยมากกว่า 90% |
-
#3 : ให้การสนับสนุนแก่พนักงานที่ต้องดูแลบุตรหลานและพ่อแม่
ในการสำรวจล่าสุด MMB พบว่าหนึ่งในสองของพนักงานที่ต้องดูแลค่าใช้จ่ายให้ทั้งบุตรหลานและพ่อแม่รู้สึก “ค่อนข้างเครียด” ทุกวัน ในขณะที่ประชากรวัยชราในเอเชียเพิ่มขึ้น ตัวเลขนี้คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอีกนายจ้างควรพิจารณาดำเนินการต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าทางบริษัทได้ให้การช่วยเหลือแก่พนักงานที่ต้องดูแลบุตรหลานและพ่อแม่อย่างเพียงพอ:
- ทำการสำรวจเพื่อระบุพนักงานที่ต้องดูแลบุตรหลานและพ่อแม่เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของพนักงานเหล่านี้
- ทบทวนสวัสดิการเฉพาะด้านรวมถึงเงินช่วยเหลือในการดูแลเด็ก/ผู้สูงอายุ
- ติดตามการใช้สวัสดิการของพนักงานกลุ่มนี้และวัดระดับความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงโปรแกรมสวัสดิการ
- นำเสนอการจัดการการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้พนักงานที่ต้องดูแลบุตรหลานและพ่อแม่ทำงานได้สะดวกขึ้น
-
#4 : สร้างช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้าง
การส่งเสริมการสื่อสารสองทางสามารถทำให้เกิดความไว้วางใจของพนักงานในองค์กรได้มากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ นายจ้างควร:
- ให้ข้อมูลอัปเดตเป็นประจำเกี่ยวกับเป้าหมาย กลยุทธ์และการตัดสินใจของบริษัท
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานมีข้อมูลที่พวกเขาต้องการอย่างถูกต้อง เพื่อให้พนักงานทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ
- สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นบวก
- ฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานอย่างกระตือรือร้นพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อยอมรับการมีส่วนร่วมของพนักงาน
- ให้โอกาสพนักงานในการมีส่วนร่วมกับผู้นำ (เช่น การประชุมทั่วไป การสนทนาอย่างเป็นกันเอง)
-
#5 : จัดการสัมมนาและการบรรยายที่ส่งเสริมการดำเนินการเพื่อปรับปรุงสุขภาพที่ดี
เมื่อมีการออกแบบแผนสวัสดิการใหม่และมีการสื่อสารให้พนักงานทราบเรียบร้อยแล้ว นายจ้างสร้างความไว้วางใจของพนักงานมากขึ้นได้ โดยการจัดสัมมนา การบรรยาย การประชุมและกิจกรรมที่มุ่งเน้นไปที่สุขภาพทางกาย จิตใจและการเงินอย่างสม่ำเสมอ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม โปรไฟล์ทางสังคม-เศรษฐกิจและระดับการศึกษาของพนักงาน MMB สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควรให้ความสำคัญ เช่น:
- การบรรยายเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของสุขภาพและสุขอนามัย
- ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพที่พนักงานสามารถซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพหรือลงทะเบียนเข้าร่วมชั้นเรียนออกกำลังกายได้โดยมีส่วนลด
- การปรับปรุงเฟอร์นิเจอร์สำนักงานให้เหมาะสมกับหลักสรีรศาสตร์
Footnote:
1 Mercer (2024), Global Talent Trends 2024 | Asia
2 Mercer Marsh Benefits (2023), Health on Demand.
3 Mercer (2024), Global Talent Trends 2024 | Asia
4 Yahoo News. (2024). More than 4 in 5 Singapore professionals are considering a new job in 2024.
5 Mercer (2024), Global Talent Trends 2024 | Asia
6 CNN (2024). Cancer cases in younger people are rising sharply. Here are some preventive measures to take
7 Mercer Marsh Benefits (2024), Health Trends.
8 Mercer Marsh Benefits (2023), Health on Demand.
9 Kang M., Sung M. (2017). How symmetrical employee communication leads to employee engagement and positive employee communication behaviors: The mediation of employee-organization relationships. Journal of Communication Management, 21(1), 82–102.