อนาคตแห่งการทำงาน: การปั้นบุคลากรยุค AI ในเอเชีย โดยมีทักษะเป็นตัวขับเคลื่อน 

วิธีสร้างบุคลากรให้เป็นผู้ที่สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

หากไม่มีการบริหารจัดการทักษะของบุคลากร บริษัทอาจได้รับความเสี่ยงจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

แม้ว่าเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่ผลสำรวจ Global Talent Trends survey ล่าสุดของเราพบว่า 62% ของผู้บริหารและ HR ในเอเชียกลับนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้โดยไม่เปลี่ยนวิธีการทำงาน เนื่องจาก "งานยุ่งมากเกินไป" ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ประสิทธิผลในการทำงานลดลง

Source: 2024 Global Talent Trends - Asia

การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในที่ทำงานไม่ควรเป็นจุดสิ้นสุด แต่หลายองค์กรอาจมองข้ามความจำเป็นของโครงการริเริ่มช่วยเหลือพนักงานในการปรับตัวและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น พนักงานจำนวนสามในห้าที่ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าองค์กรของพวกเขาสื่อสารได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอว่า AI หรือระบบอัตโนมัติจะมาช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานของพวกเขาได้อย่างไรบ้าง

แต่ในความจริงแล้ว การปั้นบุคลากรที่สามารถปรับตัวได้ดีนั้น นายจ้างจะต้องปรับตัวให้ได้ก่อน อาจเริ่มจากการตั้งคำถามที่ว่าองค์กรควรใช้แนวทางใดในการเปลี่ยนแปลงโมเดลบุคลากรและรูปแบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อสอดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ คือ ขั้นตอนแรกในการเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

จากการสำรวจ ผู้บริหารมากกว่า 53% ทั่วโลกคาดการณ์ว่า AI และระบบอัตโนมัติจะเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรมากขึ้น 10-30% ในอีกสามปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรจะสามารถปรับปรุงศักยภาพบุคลากรและกลยุทธ์การดำเนินงานของตนให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่เป็นอันดับแรก

การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นการทบทวน แก้ไข และจัดสรรหน้าที่รับผิดชอบและภาระงานที่มีอยู่เดิมนั้น สามารถเผยช่องว่างด้านทักษะภายในองค์กร เช่นเดียวกับโอกาสในการเพิ่มทักษะและฝึกทักษะใหม่ ๆ ในเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานอย่างยั่งยืน กระบวนการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรหลายแห่งในปัจจุบัน เนื่องจากโมเดลบุคลากรผู้มีความสามารถที่มีอยู่เดิมนั้นมุ่งเน้นไปที่หน้าที่ในการทำงานมากกว่าทักษะ ซึ่งมักจะเข้มงวดเกินไปและทำให้ขาดความคล่องตัวที่จำเป็นต่อการตอบสนองเทคโนโลยีใหม่ๆ

การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่จึงเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนจากโมเดลที่เน้นเนื้องานไปเป็นโมเดลที่มีทักษะเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งสามารถปลดล็อกศักยภาพและความสามารถในการปรับตัวของพนักงานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี จากการสำรวจของเราพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ในเอเชีย 63% มองว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานยิ่งขึ้น

เส้นทางสู่การปั้นบุคลากรให้มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดีด้วยการฝึกฝนที่คำนึงถึงทักษะเป็นหลัก

จากรายงาน Global Talent Trends 2024 ของเรา ผู้บริหารครึ่งหนึ่งเห็นพ้องกันว่าการอบรมพนักงาน การเพิ่มทักษะ และการฝึกทักษะใหม่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานได้มากที่สุด คุณสามารถมั่นใจว่าจะพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับอนาคตที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยอาศัยกลยุทธ์ที่คำนึงถึงทักษะทั้งสามนี้มาเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิผลการทำงานของบุคลากร ได้แก่

1. ปรับเปลี่ยนการทำงานและวางแผนบุคลากรในรูปแบบใหม่

  • แจกแจงโครงสร้างงานและจัดสรรงานใหม่
    ปรับปรุงโมเดลงานให้ตอบโจทย์และสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ในการเชื่อมโยงบุคลากรให้ตรงกับเนื้องานเพื่อสอดรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจ
  • ปลดล็อกความคล่องตัวขององค์กร 
    พัฒนาโมเดลงานที่เอื้อให้เกิดกลุ่มบุคลากรผู้มีความสามารถทางเลือกและการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อปรับระดับความต้องการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานเต็มเวลา ใช้ระบบเก็บโปรไฟล์ในการรักษาบุคลากรผู้มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรเพื่อช่วยจัดการกับความขาดแคลนทรัพยากรบุคคลและการแข่งขัน และว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากภายนอกเมื่อความต้องการในทักษะนั้นเกินกว่าที่บริษัทจะสามารถใช้โมเดลเพื่อดึงตึวหรือสร้างบุคลากรได้ 
  • แยกแยะโอกาสจากการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ 
    ดึงตัวบุคลากรผู้มีความสามารถจากงานจำเจและมอบหมายให้ทำงานตามทักษะของพวกเขาเป็นหลัก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและแก้ไขปัญหาขององค์กร 

2. กระตุ้นให้เกิดโครงการริเริ่มที่คำนึงถึงทักษะเป็นหลัก

  • จำแนกโครงสร้างทักษะและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะ
    กระบวนการนี้ช่วยให้บริษัทตระหนักถึงทักษะสำคัญต่างๆ สำหรับองค์กรที่เชื่อมโยงกัน เพื่อส่งเสริมการเพิ่มทักษะและการฝึกทักษะใหม่ให้กับบุคลากร รวมถึงเส้นทางอาชีพ
  • ระบุทักษะและวางผังทักษะเหล่านี้ให้กับพนักงาน
    ข้อมูลนี้ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนของทักษะที่พนักงานมี รวมถึงทักษะที่พวกเขาไม่ได้ใช้ในตำแหน่งงานที่ทำอยู่ เมื่อจำเป็นต้องอาศัยความสามารถใหม่ๆ องค์กรจะสามารถระบุได้ว่าใครคือผู้ที่มีศักยภาพสูงสุดในการปรับตัวและมีความสามารถเป็นเลิศ
  • พัฒนากรอบความสามารถ
    บริษัทจำเป็นต้องประเมินพนักงานโดยเทียบกับกรอบความสามารถ ด้วยการใช้ผลตอบรับหรือเครื่องมือที่เป็นทางการ เพื่อระบุความแตกต่างตามระดับของความสามารถหรือความเชี่ยวชาญตามทักษะที่กำหนด ในบรรดา 60% ของบริษัทที่มีการบริหารจัดการเรื่องระดับความสามารถด้านทักษะในเอเชีย มี 24% ที่จัดการจากส่วนกลาง ในขณะที่ 36% จัดการในระดับท้องถิ่นผ่านแผนกธุรกิจ อ้างอิงจาก 2023/2024 Skills Snapshot Survey Asia Report ของเรา
  • ออกแบบโปรแกรมการจ่ายค่าตอบแทนโดยอิงเกณฑ์ทักษะ
    โปรแกรมนี้จะสร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาทักษะและความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ทั้งยังช่วยดึงดูดและรักษาบุคลากรผู้มีความสามารถให้อยู่กับบริษัท การสำรวจของเราพบว่า 28% ขององค์กรในเอเชีย (เทียบกับ 17% ทั่วโลก) มีโปรแกรมการจ่ายค่าตอบแทนโดยอิงเกณฑ์ทักษะอยู่แล้ว
จากการสำรวจ Skills Snapshot Survey - Asia ของเรา ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติในแง่ดีเกี่่ยวกับการมีโปรแกรมการจ่ายค่าตอบแทนโดยอิงเกณฑ์ทักษะที่มีการเชื่อมโยงรางวัลเข้ากับหลากหลายทักษะ ดังนี้

3. ใช้ประโยชน์จาก AI ในการประเมินทักษะและข้อมูลเชิงลึกด้านความสามารถ

  • การรายงานตนเองของพนักงาน
    เราพบว่า 51% ขององค์กรในเอเชียใช้การรายงานตนเองของพนักงานเพื่อวางผังทักษะให้แต่ละบุคคล แม้จะช่วยประหยัดงบประมาณ แต่ก็อาจทำให้โปรไฟล์ทักษะไม่สมบูรณ์ เนื่องจากพนักงานอาจเผชิญกับความยากลำบากในการประเมินทักษะของตน 
  • การประเมินทักษะเป็นประจำ
    ผู้จัดการและเพื่อนร่วมงานจะถูกขอให้ประเมินหรือตรวจสอบทักษะของเพื่อนร่วมงานเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นแนวทางที่ใช้เวลานานซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการประเมิน ตัวเลือกที่ดีกว่าอาจเป็นกลยุทธ์การประเมินแบบแบ่งกลุ่มโดยอิงตามปัจจัยหลายประการ เช่น การประเมินความวิกฤตและวุฒิภาวะของการปฏิบัติงานตามทักษะ นอกจากนี้ การประเมินยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมประสบการณ์เชิงบวกให้กับพนักงาน 
  • เครื่องมือ AI สำหรับการประเมิน
    การสำรวจของเราพบว่า 78% ขององค์กรกำลังใช้หรือวางแผนที่จะใช้ AI เพื่อประเมินทักษะ เนื่องจาก AI สามารถอนุมานทักษะในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ของพนักงาน (ประวัติงาน ประวัติการเรียนรู้ ข้อมูลประจำตัว ฯลฯ) ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานด้านทักษะสำหรับองค์กร ทักษะเหล่านี้ตรวจสอบได้โดยเพื่อนร่วมงานหรือผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะ หรือสามารถประเมินเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลทักษะของพนักงานที่สมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น

กรณีศึกษา: การช่วยเหลือสถาบันทางการเงินชั้นนำในการนำแนวทาง "ทักษะยอดนิยม" มาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความสามารถในการปรับตัวของบุคลากร

การมุ่งเน้นที่การนำแนวทางปฏิบัติโดยคำนึงถึงทักษะมาใช้สามารถช่วยให้องค์กรของคุณเพิ่มศักยภาพสูงสุดของบุคลากรและประหยัดค่าใช้จ่าย ตามที่กรณีศึกษาชี้ให้เห็น ดังนี้

สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกกระตือรือร้นที่จะเตรียมบุคลากรให้พร้อมสำหรับธุรกิจที่กำลังพัฒนาด้วยการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญ ทางบริษัทได้ติดต่อ Mercer เพื่อระบุและจัดสรรบุคลากรผู้มีความสามารถที่มีทักษะตอบโจทย์แง่มุมต่างๆ ที่สำคัญที่สุดและเหมาะสมกับขนาดขององค์กร

Mercer ระบุ "ทักษะยอดนิยม" ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในแวดวงอุตสาหกรรมของลูกค้า โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้

  • การอนุมาน "ทักษะยอดนิยม":  มีการใช้ AI ใช้เพื่ออ้างอิงและปรับพื้นฐานของกลุ่ม "ทักษะยอดนิยม" ที่อยู่ระหว่างลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ แผนกที่มุ่งเน้น วิสัยทัศน์ของลูกค้า กับการวิจัยอุตสาหกรรมของ Mercer
  • การระบุ "ทักษะยอดนิยม": เราสร้างรายการสรุปเกณฑ์การระบุกลุ่ม "ทักษะยอดนิยม" ที่เกี่ยวข้องกับลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของบริษัท โดยคำนึงถึงการเกิดขึ้น อัตราส่วนเวลา และความอเนกประสงค์ 
  • เซสชันธุรกิจ:  เราจัดเซสชันการตรวจสอบความถูกต้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อปรับแต่งทักษะยอดนิยม เจาะลึกความสามารถภายในกลุ่มทักษะที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และวางผังทักษะเหล่านั้นเข้ากับกรอบความสามารถทางเทคนิคและการจัดกลุ่มงาน (JFF) ของลูกค้า 
  • การระดม "ทักษะยอดนิยม"
    จากการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มงาน ทักษะที่เป็นที่ต้องการ และการจัดหาบุคลากรผู้มีความสามารถภายในองค์กร เราสามารถระบุพื้นที่นำร่องเพื่อระดมทักษะยอดนิยมมาใช้ปลดล็อกคุณค่าและสร้างโอกาสในการเติบโตได้ นอกจากนี้เรายังกำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ AI ช่วยจับคู่ทักษะของพนักงานและนำเสนอโอกาสต่าง ๆ ในวงกว้าง 

เป็นผลให้ลูกค้าทั่วโลกสามารถระบุทักษะยอดนิยมทั่วทั้งสายงานทางธุรกิจ และจัดสรรบุคลากรผู้มีความสามารถให้ตอบโจทย์ได้ตามต้องการ 


ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้านบุคลากรของคุณเพื่อสอดรับอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยทักษะ

แม้ว่าเอเชียจะมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้และทดลองใช้แนวทางที่เน้นทักษะ แต่องค์กร 42% ระบุว่าความสามารถหรือศักยภาพทรัพยากรบุคคลยังเป็นอุปสรรคสำคัญลำดับต้น ๆ เพื่อพิชิตปัญหานี้ บริษัทต่างๆ สามารถร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลที่น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์เชิงลึกจากหลากหลายอุตสาหกรรม

Mercer ช่วยให้บริษัทและรัฐบาลต่างๆ ในเอเชียเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยทักษะโดยใช้ประโยชน์จาก AI รวมถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปลดล็อกศักยภาพของพนักงานที่มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


เริ่มต้นสร้างบุคลากรที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดีก่อนใคร

นัดเวลาสนทนาเบื้องต้นกับที่ปรึกษาของ Mercer ได้เลยวันนี้
Mercer Marketing Form
This event has not started.
This event is no longer accepting registrations.
This event has ended.

Related products for purchase

    Related Insights

    Related Case Studies